บทความ

งูแมวเซา

รูปภาพ
งูแมวเซา พบชุกชุมในภาคกลาง ลักษณะตัวอ้วน หัวเป็นรูปสามเหลี่ยม คอเล็ก สีน้ำตาลลำตัวมีลายเป็นรูปวงแหวนหรือรูปไข่อยู่ด้านข้างตลอดลำตัว เวลาโกรธจะขดตัวเป็นก้อนส่งเสียงขู่เหมือนเสียงแมวกรนแล้วพุ่งเข้าฉกกัดอย่างรวดเร็ว พิษที่สำคัญของมันเป็น hemotoxin ทำให้มีเลือดออกซึ่งอาจเกิดจากเม็ดเลือดแดงแตก หรือเลือดไหลออกจากร่างกาย และยังเกิด ภาวะ DIC [disseminated intravascular coagulation] โดยมีการลดลงของ เกล็ดเลือด,fibrinogen เมื่อเจาะเลือดพบว่าเลือดแข็งตัวไม่ดี อาการเฉพาะที่ ทันที่ทีถูกงูกัดจะเกิดอาการปวดและมีอาการบวมมาก อาการบวมเกิดเกิดขึ้นได้ภายใน 2-3 นาที มักจะมีรอยเขี้ยว 2 จุดซึ่งมีเลือดไหลออกตลอดเวลา และบริเวณรอบแผลจะมีสีคล้ำ บริเวณโดยรอบเขี้ยวจะบวมอย่างชัดเจนภายใน 15-20 นาที และเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งแขนข้างนั้นบวมหมดในเวลา 12-24 ชั่วโมง และอาจเริ่มพองและมีเลือด อาการทั่วไป ผู้ป่วยที่ได้รับพิษมากจะมีอาการของเลือดออกง่ายภายในเวลา 2-3 ชั่วโมง เช่น เลือดออกเป็นจ้ำๆบริเวณผิวหนัง เลือดออกตามไรฟัน ไอมีเสมหะปนเลือด ถ่ายอุจาระสีดำ ปัสสาวะเป็นเลือด เลือดออกจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ

งูสามเหลี่ยม

รูปภาพ
งูสามเหลี่ยม  หรือ  งูทับทางเหลือง  ( อังกฤษ :  Banded krait ;  ชื่อวิทยาศาสตร์   Bungarus fasciatus ) เป็น ชนิด ของ งูมีพิษ ชนิดหนึ่ง พบใน อินเดีย ,  บังคลาเทศ ,  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึง เอเชียตะวันออก มีหัวกลม ลำตัวเรียวยาว 1 ถึง 2 เมตร ปลายหางมักทู่ บางตัวหัวแบนเล็กน้อย ลำตัวเป็นสัน สามเหลี่ยม ชัดเจน อันเป็นที่มาของชื่อเรียก เลื้อยช้าแต่ ว่ายน้ำ ได้เร็ว เป็นงูที่มีความว่องไวปราดเปรียวใน น้ำ  สีของลำตัวเป็นปล้อง ดำ สลับ เหลือง ทั้งตัว เวลากัดไม่มีการแผ่แม่เบี้ยเหมือนงูใน สกุล   Naja ใน ประเทศไทย จะพบได้ทุกภาค แต่จะพบได้มากใน ภาคใต้  รวมถึง ป่าพรุโต๊ะแดง  กินอาหาร จำพวก  หนู ,  กบ , เขียด หรือ ปลา  รวมถึงงูด้วยกันขนาดเล็กด้วย หากินในเวลา กลางคืน  มักขดนอนตามโคนกอไม้ ไผ่ ,  ป่าละเมาะ , พงหญ้าริมน้ำ เป็นงูที่ไม่ดุ ไม่ฉกกัด นอกจากจะมีคนเดินไปเหยียบหรือเดินผ่านขณะที่งูสามเหลี่ยมกำลังไล่กัดงูซึ่งเป็นอาหารก่อน งูกินปลา งูเขียว ปกติตอน กลางวัน จะซึมเซา แต่ตอนกลางคืนจะว่องไว มีพิษทำลายระบบประสาทและโลหิตรวมกัน เมื่อถูกกัดจะมีอาการชักกระตุก ปวดช่องท้อง มีเลือดออกเป็นจุด ๆ ใต

เต่าดาวอินเดีย

รูปภาพ
เต่าดาวอินเดีย  (Indian star tortoise) จัดเป็นเต่าสวยงามต่างประเทศ (อินเดีย ปากีสถาน และศรีลังกา) ซึ่งปัจจุบันมีการนำเข้ามาเลี้ยงเพิ่มมากขึ้น เนื่องจาก เต่ามีขนาดไม่ใหญ่มาก กระดองมีลวดลาย และสีสันสวยงาม แตกต่าง และแปลกตากว่าเต่าหลายชนิดที่พบในไทย อนุกรมวิธาน • อาณาจักร (kingdom): Animalia • ไฟลัม (phylum): Chordata • ชั้น (class): Reptilia • อันดับ (order): Testudines หรือ Chelonia • วงศ์ (family): Testudinidae • สกุล (genus): Geochelone • ชนิด (species): Geochelone elegans • ชื่อสามัญ : Indian star tortoise • ชื่อท้องถิ่นต่างประเทศ : – Kachuva – Kasav – Amai – Amah – Tabelu • ชื่อวิทยาศาสตร์ : Geochelone elegans • ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ : – Testudo elegans – Testudo stellate – Chersine elegans – Testudo actinoides – Geochelone (Geochelone) stellate – Testudo megalopus – Peltastes stellatus – Peltastes stellatus var. actinoides – Geochelone elegans elegans สถานะกฎหมายที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย ในไทย เต่าดาวอินเดีย มีความเกี่ยวข้องกับกฎหมาย 1 ฉบับ และอนุสัญญา 1 ฉบับ คือ 1. พระราชบัญญ

กิ้งก่า

รูปภาพ
กิ้งก่า  หรือ  กะปอม  จัดเป็นสัตว์ป่าอนุรักษ์ชนิดหนึ่ง ที่มีการจับนำมาประกอบอาหาร โดยเฉพาะคนชนบทในภาคอีสาน และภาคเหนือบางท้องถิ่น ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านที่นิยมรับประทานกันมากเหมือนกับแย้ ได้แก่ ปิ้ง ย่าง แกงคั่ว ทอด ทำน้ำพริก เป็นต้น กิ้งก่า ในบางพื้นที่จัดเป็นสัตว์เศษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชาวชนบทเลยทีเดียว โดยเฉพาะในฤดูแล้งหลังเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จจนถึงต้นฤดูฝนที่นิยมจับมาประกอบอาหาร และจำหน่ายกันมากในตลาดสด ราคาจำหน่ายตัวใหญ่เต็มวัย 3-5 ตัว ราคาประมาณ 20-40 บาท ขึ้นอยู่กับขนาด ประโยชน์ของกิ้งก่า 1. ใช้ประกอบอาหารได้หลายชนิด อาทิ ปิ้ง ทอด คั่ว และทำน้ำพริก 2. เป็นสัตว์ผู้ล่า คอยจับกินแมลงต่างช่วยสร้างสมดุลในระบบนิเวศ และช่วยกำจัดแมลงศัตรูพืชในแปลงเกษตรได้เป็นอย่างดี อนุกรมวิธาน Kingdom : Animalia Phylum : Chordata Class : Reptilia Order : Squamata Suborder : Sauria (Lacertilia) Infraorder : Iguania Family : Agamidae Genus : Calotes Genus : Acanthosaura Spicies : Calotes versicolor Spicies : Calotes mystaceus ลักษณะทั่วไป ลำตัวมีเกล็ดปกคลุม เป็นเกล็ดที่เกิดจากหนังกำพร้า

จิ้งเหลน

รูปภาพ
จิ้งเหลน   ( Skink) ชื่อวิทยาศาสตร์ Scincidae  จัดเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีกระดูกสันหลัง พบได้ทั่วไปทั้งตามบ้านเรือน กองไม้ ต้นไม้ และตามป่าเขา ปัจจุบันมีประมาณ 116 สกุล และ 1,200 ชนิด มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศที่คอยควบคุมสัตว์ขนาดเล็กจำพวกแมง และแมลง สำหรับประเทศไทยยังไม่ปรากฏการนำมาประโยชน์ทางด้านอาหาร อาจเนื่องจาก เป็นสัตว์ที่พบตามบ้านเรือน โดยเฉพาะบริเวณอับชื้น ที่ล้างจาน และกองขยะ เป็นต้น ประกอบกับมีรูปร่าง และลวดลายลำตัวที่น่ารังเกียจจึงไม่นิยมนำมาประกอบอาหารเหมือนสัตว์ประเภทอื่น เช่น แย้ และกะปอม อนุกรมวิธาน 1. ชั้น (class) : สัตว์เลื้อยคลาน (class Reptilia) 2. อันดับ (order) : กิ้งก่า และงู (order Squamata) 3. อันดับย่อย (suborder) : กิ้งก่า (suborder Lacertilia) 4. ตระกูล (infraorder) : จิ้งเหลน (infraorder Scincomorpha) 5. วงศ์ (family) : จิ้งเหลน (family Scincidae) ลักษณะทั่วไป จิ้งเหลน มีลักษณะรูปร่างคล้ายกิ้งก่า แต่แตกต่างกันที่ลักษณะของเกล็ด โดยจิ้่งเหลนจะมีเกล็ดเรียบ ลื่น และเป็นมัน เกล็ดเรียงซ้อนเหลื่อมกัน มีหลายสีแกมกันบนลำตัว ได้แก่ สีน้ำตาล สีขาว สีดำ และสีเหลือง

ตะพาบน้ำ

รูปภาพ
ตะพาบน้ำ  เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่นิยมนำมาประกอบอาหารรับประทานชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะคนที่ชื่นชอบในอาหารแปลกๆหรืออาหารป่า ซึ่งสามารถหารับประทานได้ในเฉพาะบางร้านเท่านั้น และขายกันในราคาแพงพอสมควร ลักษณะทั่วไป ตะพาบน้ำมีกระดองหลังแบนราบ และเป็นรูปรีเล็กน้อย ผิวกระดองเรียบ แต่มีกระดองที่มีลักษณะนิ่มค่อนข้างมาที่ปราศจากแผ่นแข็ง และรอยต่อ ตะพาบน้ำมีหัวค่อนข้างใหญ่ มีคอยาว ปากแหลม มีกามแข็งแรง และมีขากรรไกรแหลมคม ส่วนขามี 4 ขา มีลักษณะใหญ่สั้น แต่ละขามี 3 นิ้ว แต่ละนิ้วมีพังผืดเชื่อมติดกันช่วยทำหน้าที่เป็นใบพายสำหรับว่ายน้ำ ตะพาบน้ำตัวผู้จะมีลักษณะลำตัวเรียวยาว และบางกว่าตัวเมีย รวมถึงส่วนหางจะยาวกว่าตัวเมีย ส่วนตัวเมียจะลำตัวอ้วนใหญ่ และมีกระดองที่สากกว่า แต่มีส่วนหางที่สั้นกว่าตัวผู้ การเจริญพันธุ์ ตะพาบน้ำตัวเมียเริ่มให้ไข่ได้เมื่ออายุประมาณปีเศษ แต่จะให้ไข่ที่สมบูรณ์ และฟักออกมาเป็นตัวได้ดีเมื่ออายุ 1.8 ปี ขึ้นไป หากไข่ผสมเมื่ออายุต่ำกว่านี้ ไข่จะไม่ค่อยสมบูรณ์ การฟักจะมีไข่เสียมาก การดำรงชีพ ตะพาบน้ำพบอาศัยในแหล่งน้ำจืดทั่วไปที่เป็นน้ำนิ่ง และมีสภาพเป็นโคลนตม โดยกำดำรงชีพส่วนใหญ่จะอา

แย้

รูปภาพ
แย้  (Agamid) เป็นสัตว์ป่าพื้นเมืองที่นิยมนำรับประทานชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะคนภาคอีสาน และภาคเหนือ เนื่องจากเนื้อแย้สามารถรับประทานได้ทั้งตัว เนื้อให้รสอร่อย มีกลิ่นหอม และกระดูกไม่แข็ง โดยมีเมนูหลัก ได้แก่ ก้อยแย้ หมกแย้ แย้ปิ้ง เป็นต้น ฤดูการจับแย้จะอยู่ในช่วงหน้าแล้ง ประมาณเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ซึ่งชาวบ้านจะออกจับกันมากในวันหลังฝนตก โดยมีวิธีการจับที่นิยม คือ การขุดตามรู และการใช้ปืนอัดลมยิง ทั้งเพื่อการรับประทานในครัวเรือน และจำหน่าย โดยราคาแย้ที่จำหน่ายประมาณตัวละ 5-10 บาท หรือมากกว่า ขึ้นกับขนาดของตัวแย้ อนุกรมวิธาน • Order : Squamata • Family : Agamidae • Genus : Leiolepis •Species : Leiolepis belliana (Gray) • ชื่อสามัญ : Agamid • ชื่อเรียกท้องถิ่น : แย้ • จำนวนโครโมโซม : 2n = 36 ชนิดแย้ ที่พบในประเทศไทย (ชนิดย่อย : Subspecies) 1. L. b. rubritaeniata (Mertens) พบในภาคเหนือ และภาคอีสาน 2. L. b. belliana (Gray) พบมากในภาคใต้ และภาคกลางเล็กน้อย 3. L. b. guttatus (Gunther) เคยพบในภาคตะวันออก และพบน้อยมาก หรืออาจไม่พบแล้ว การแพร่กระจาย แย้ เป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทไต่คลานที