งูแมวเซา



งูแมวเซา

พบชุกชุมในภาคกลาง ลักษณะตัวอ้วน หัวเป็นรูปสามเหลี่ยม คอเล็ก สีน้ำตาลลำตัวมีลายเป็นรูปวงแหวนหรือรูปไข่อยู่ด้านข้างตลอดลำตัว เวลาโกรธจะขดตัวเป็นก้อนส่งเสียงขู่เหมือนเสียงแมวกรนแล้วพุ่งเข้าฉกกัดอย่างรวดเร็ว พิษที่สำคัญของมันเป็น hemotoxin ทำให้มีเลือดออกซึ่งอาจเกิดจากเม็ดเลือดแดงแตก หรือเลือดไหลออกจากร่างกาย และยังเกิด ภาวะ DIC [disseminated intravascular coagulation] โดยมีการลดลงของ เกล็ดเลือด,fibrinogen เมื่อเจาะเลือดพบว่าเลือดแข็งตัวไม่ดี
อาการเฉพาะที่
  • ทันที่ทีถูกงูกัดจะเกิดอาการปวดและมีอาการบวมมาก อาการบวมเกิดเกิดขึ้นได้ภายใน 2-3 นาที
  • มักจะมีรอยเขี้ยว 2 จุดซึ่งมีเลือดไหลออกตลอดเวลา และบริเวณรอบแผลจะมีสีคล้ำ
  • บริเวณโดยรอบเขี้ยวจะบวมอย่างชัดเจนภายใน 15-20 นาที และเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งแขนข้างนั้นบวมหมดในเวลา 12-24 ชั่วโมง และอาจเริ่มพองและมีเลือด

อาการทั่วไป

  • ผู้ป่วยที่ได้รับพิษมากจะมีอาการของเลือดออกง่ายภายในเวลา 2-3 ชั่วโมง เช่น เลือดออกเป็นจ้ำๆบริเวณผิวหนัง เลือดออกตามไรฟัน ไอมีเสมหะปนเลือด ถ่ายอุจาระสีดำ ปัสสาวะเป็นเลือด
  • เลือดออกจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งความดันต่ำ ไตเสื่อมและเสียชีวิต
  • ผู้ป่วยที่ถูกงูแมวเซากัด ควรรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลทุกรายเพื่อสังเกต
    อาการอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
ในผู้ป่วยที่ถูกงูแมวเซากัด และมีภาวะไตวายเฉียบพลัน อาจพิจารณาทําฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม hemodialysis เมื่อมีช้อบ่งชี้ได้แก่
  •  มีลักษณะทางคลินิกของภาวะยูรีเมีย (uremia)
  • ภาวะสารนํ้ าเกิน (fluid overload)
  • ผลการตรวจเลือดผิดปกติ อย่างน้อย 1 อย่าง ต่อไปนี้
    - creatinine สูงกว่า 6 มก.ต่อดล. (500 ไมโครโมลต่อลิตร)
    - BUN สูงกว่า 200 มก.ต่อดล. (400 มิลลิโมลต่อลิตร)
    - potassium สูงกว่า 7 มิลลิโมลต?อลิตร
    - symptomatic acidosis

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

จิ้งจก

ตะพาบน้ำ

จิ้งเหลน