จิ้งจก
จิ้งจก เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่อยู่ใกล้ชิดกับคนเรามากที่สุด ซึ่งพบได้ทั่วไปตามบ้านเรือน ชอบอาศัยตามซอกมุมหรือตู้เสื้อผ้า และออกหากินแมลงตามแหล่งไฟ ทั้งนี้ โดยภาพรวมของจิ้งจกจะมีข้อเสียมากกว่าประโยชน์ เช่น จิ้งจกมักร้องเสียงดังน่ารำคาญ และมักถ่ายมูลติดเปื้อนข้าวของ
จิ้งจกในประเทศไทยที่พบทั่วไปตามบ้านเรือน เรียกในทางวิชาการว่า จิ้งจกบ้าน (House gecko) จัดอยู่ในสกุล Hemidactylu พบมากที่สุด 2 ชนิด คือ
– จิ้งจกบ้านหางแบน (H. platyurus)
– จิ้งจกบ้านหางหนาม (H. frenatus
จิ้งจกในประเทศไทยที่พบทั่วไปตามบ้านเรือน เรียกในทางวิชาการว่า จิ้งจกบ้าน (House gecko) จัดอยู่ในสกุล Hemidactylu พบมากที่สุด 2 ชนิด คือ
– จิ้งจกบ้านหางแบน (H. platyurus)
– จิ้งจกบ้านหางหนาม (H. frenatus
• ชื่อสามัญ :
– House gecko
– Half toed gecko
– House lizard
• ชื่อท้องถิ่นไทย
– จิ้งจก
– House gecko
– Half toed gecko
– House lizard
• ชื่อท้องถิ่นไทย
– จิ้งจก
อนุกรมวิธาน
• Kingdom : Animalia
• Phylum : Chordata
• Class : Reptilia
• Order : Squamata
• Sub order : Lacertilia
• Family : Gekkonidae
• Sub Family : Gekkoninae
• Genus : Hemidactylus
• Species :
– Hemidactylus platyurus (จิ้งจกบ้านหางแบน)
– Hemidactylus frenatus (จิ้งจกบ้านหางหนาม)
• Kingdom : Animalia
• Phylum : Chordata
• Class : Reptilia
• Order : Squamata
• Sub order : Lacertilia
• Family : Gekkonidae
• Sub Family : Gekkoninae
• Genus : Hemidactylus
• Species :
– Hemidactylus platyurus (จิ้งจกบ้านหางแบน)
– Hemidactylus frenatus (จิ้งจกบ้านหางหนาม)
ลักษณะทั่วไป
จิ้งจกมีลำตัวขนาดเล็ก ค่อนข้างแบน มีความยาวจากส่วนหัวถึงปลายหางประมาณ 8-10 ซม. ส่วนลำตัวที่กว้างที่สุดเป็นส่วนท้อง กว้างประมาณ 0.7-1.2 ซม. ลำตัวมีผิวหนังบางใสมองเห็นสีเนื้อด้านในหรือมีสีเทาหรือสีน้ำตาลอ่อน และสามารถเปลี่ยนสีได้ ผิวหนังดูผิวเผินจะเรียบ แต่หากส่องกล้องดูจะพบเป็นตุ่มหรือเกล็ดปกคลุม ส่วนหัวมีขนาดเท่ากับลำตัว ตามี 2 ข้าง ไม่มีม่านตามปิด จมูกมี 2 รู ขนาดเล็ก อยู่บริเวณเหนือปากด้านบน มุมปากยาว อ้าปากได้กว้าง ภายในปากมีลิ้นสั้น แต่ยืดยาวได้
จิ้งจกมีลำตัวขนาดเล็ก ค่อนข้างแบน มีความยาวจากส่วนหัวถึงปลายหางประมาณ 8-10 ซม. ส่วนลำตัวที่กว้างที่สุดเป็นส่วนท้อง กว้างประมาณ 0.7-1.2 ซม. ลำตัวมีผิวหนังบางใสมองเห็นสีเนื้อด้านในหรือมีสีเทาหรือสีน้ำตาลอ่อน และสามารถเปลี่ยนสีได้ ผิวหนังดูผิวเผินจะเรียบ แต่หากส่องกล้องดูจะพบเป็นตุ่มหรือเกล็ดปกคลุม ส่วนหัวมีขนาดเท่ากับลำตัว ตามี 2 ข้าง ไม่มีม่านตามปิด จมูกมี 2 รู ขนาดเล็ก อยู่บริเวณเหนือปากด้านบน มุมปากยาว อ้าปากได้กว้าง ภายในปากมีลิ้นสั้น แต่ยืดยาวได้
ส่วนขามี 4 เท้า เท้า 2 ข้างด้านหน้ามี 5 นิ้ว ส่วน 2 เท้าด้านหลังมี 4 นิ้วโคนนิ้วเป็นพังพืดเชื่อมติดกัน ด้านล่างที่เป็นฝ่าเท้ามีลักษณะเป็นเกล็ดที่ประกอบด้วยปุ่มเกาะจำนวนมาก ทำให้จิ้งจกสามารถเกาะอยู่ผนังห้องในแนวต่างๆได้ ส่วนหางมีความยาวประมาณครึ่งหนึ่งของลำตัว แบ่งเป็น 2 แบบ ตามชนิด คือ หางแบน และหางหนาม หางนี้สามารถงอกใหม่ได้หากหางขาด ซึ่งจะใช้เวลางอกใหม่ประมาณ 1 เดือน ขึ้นอยู่กับจุดที่ขาด
ไข่จิ้งจกมีลักษณะกลมรี คล้ายไข่ไก่ เปลือกไข่มีสีขาวคล้ายไข่เป็ด ไข่มีขนาดเล็ก กว้างประมาณ 0.5-0.7 ซม. ยาวประมาณ 0.7-1.0 ซม.
การแพร่กระจาย และแหล่งอาศัย
จิ้งจกเป็นสัตว์ที่พบได้ทั่วโลก ส่วนชนิดที่พบมากในประเทศไทยจะเป็นชนิดพันธุ์หางแบน และชนิดพันธุ์หางหนาม
จิ้งจกเป็นสัตว์ที่พบได้ทั่วโลก ส่วนชนิดที่พบมากในประเทศไทยจะเป็นชนิดพันธุ์หางแบน และชนิดพันธุ์หางหนาม
แหล่งที่พบจิ้งจกส่วนมากจะเป็นตามอาคารบ้านเรือน บ้านร้าง และตามต้นไม่ใหญ่ กลางวันชอบหลบตามซอกมุมมืดต่างๆ ชอบออกหากินในเวลากลางคืน ในแหล่งที่มีแสงไฟ
อาหาร และการหาอาหาร
จิ้งจกสามารถออกหาอาหารได้ทั้งในเวลากลางวัน และเวลากลางคืน แต่ส่วนมากจะออกหากินในเวลากลางคืน ตามแหล่งแสงไฟต่างๆ เพราะแหล่งแสงไฟจะมีแมลงมาตอมแสงมาก
จิ้งจกสามารถออกหาอาหารได้ทั้งในเวลากลางวัน และเวลากลางคืน แต่ส่วนมากจะออกหากินในเวลากลางคืน ตามแหล่งแสงไฟต่างๆ เพราะแหล่งแสงไฟจะมีแมลงมาตอมแสงมาก
อาหารของจิ้งจกจะเป็นแมง และแมลงทุกชนิด ทั้งที่มีขนาดใหญ่ และขนาดเล็ก เช่น ผีเสื้อ แมลงสาบ แมลงหวี่ เป็นต้น
การสืบพันธุ์ และวางไข่
จิ้งจกเป็นสัตว์ที่ผสมพันธุ์แบบไม่มีฤดู สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดเวลา หลังจากผสมพันธุ์ และตัวเมียพร้อมวางไข่มักจะหาที่วางไข่ตามซอกมุมต่างๆ และมักพบวางไข่เป็นกลุ่มๆที่มีแม่จิ้งจกมากกว่า 1 ตัว มาไข่รวมกัน ไข่จะฟักออกเป็นตัวประมาณ 50-60 วัน หลังจากวางไข่
จิ้งจกเป็นสัตว์ที่ผสมพันธุ์แบบไม่มีฤดู สามารถผสมพันธุ์ได้ตลอดเวลา หลังจากผสมพันธุ์ และตัวเมียพร้อมวางไข่มักจะหาที่วางไข่ตามซอกมุมต่างๆ และมักพบวางไข่เป็นกลุ่มๆที่มีแม่จิ้งจกมากกว่า 1 ตัว มาไข่รวมกัน ไข่จะฟักออกเป็นตัวประมาณ 50-60 วัน หลังจากวางไข่
ประโยชน์ และข้อเสียของจิ้งจก
จิ้งจกตามธรรมชาติแล้วเป็นสัตว์ที่กินแมง และแมลงเป็นอาหาร โดยเฉพาะตามบ้านเรือนในเวลากลางคืนที่เปิดไฟ ซึ่งแมลงจะมาตอมหลอดไฟมาก แมลงบางส่วนมักหล่นใส่พื้น ข้าวของ เสื้อผ้าทำให้สกปรก หากปล่อยจิ้งจกไว้ในจำนวนไม่มากก็จะช่วยกำจัดแมลงได้ดี
จิ้งจกตามธรรมชาติแล้วเป็นสัตว์ที่กินแมง และแมลงเป็นอาหาร โดยเฉพาะตามบ้านเรือนในเวลากลางคืนที่เปิดไฟ ซึ่งแมลงจะมาตอมหลอดไฟมาก แมลงบางส่วนมักหล่นใส่พื้น ข้าวของ เสื้อผ้าทำให้สกปรก หากปล่อยจิ้งจกไว้ในจำนวนไม่มากก็จะช่วยกำจัดแมลงได้ดี
ส่วนข้อเสียของจิ้งจกมีหลายด้านด้วยกัน อาทิ
– จิ้งจกมักไล่กัดกัน ส่งเสียวร้องจกๆ ทำให้น่ารำคาญ
– จิ้งจกมักปล่อยมูลหล่นเปื้อนติดพื้น ติดเสื้อผ้า ทำให้ต้องทำความสะอาดปล่อย
– จิ้งจกมักไข่ไว้ในตู่เสื้อผ้า ทำให้เปลือกไข่แตกหรือเปลอกไข่หลังการฟักเปื้อนตู้เสื้อผ้า
– ลำตัว และมูลของจิ้งจกมักตรวจพบเชื้อ Salmonella หากมีการจับจิ้งจกด้วยมือเปล่า ควรล้างมือด้วยสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อทุกครั้ง เพราะหากไปหยิบจับกินอาหารมักทำให้เกิดอาหารเป็นพิษ เกิดอาการท้องเสียตามมาได้ง่าย นอกจากนั้น ยังพบเชื้อ Salmonella ได้ในมูลจิ้งจก ซึ่งมูลนี้มีโอกาสปนเปื้อนในอาหารของมนุษย์ได้มาก
– จิ้งจกมักไล่กัดกัน ส่งเสียวร้องจกๆ ทำให้น่ารำคาญ
– จิ้งจกมักปล่อยมูลหล่นเปื้อนติดพื้น ติดเสื้อผ้า ทำให้ต้องทำความสะอาดปล่อย
– จิ้งจกมักไข่ไว้ในตู่เสื้อผ้า ทำให้เปลือกไข่แตกหรือเปลอกไข่หลังการฟักเปื้อนตู้เสื้อผ้า
– ลำตัว และมูลของจิ้งจกมักตรวจพบเชื้อ Salmonella หากมีการจับจิ้งจกด้วยมือเปล่า ควรล้างมือด้วยสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อทุกครั้ง เพราะหากไปหยิบจับกินอาหารมักทำให้เกิดอาหารเป็นพิษ เกิดอาการท้องเสียตามมาได้ง่าย นอกจากนั้น ยังพบเชื้อ Salmonella ได้ในมูลจิ้งจก ซึ่งมูลนี้มีโอกาสปนเปื้อนในอาหารของมนุษย์ได้มาก
วิธีไล่จิ้งจก
1. จิ้งจกเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบน้ำ อาจใช้การสเปรย์น้ำใส่ซึ่งจะช่วยไล่จิ้งจกได้ชั่วคราว
2. จิ้งจกไม่ชอบกลิ่นฉุน เช่น สเปรย์ปรับอากาศฉีดพ่นในห้อง ใช้เปลือกมะกรูดหรือเปลือกมะนาววางไว้ในห้องหรือมุมอับ ใช้ลูกเหม็นหรือการบูรวางไว้ในตู้เสื้อผ้าหรือในห้อง เป็นต้น วิธีการใช้กลิ่นสามารถประยุกต์ได้หลายแบบ ทั้ง การใช้สมุนไพร และกลิ่นของสารเคมี แต่แนะนำใช้กลิ่นจากสมุนไพรเหมาะสมที่สุด
3. จิ้งจกไม่ชอบควัน ควันจากสิ่งต่างๆมักมีกลิ่นเหม็น อาจใช้ควันจากการเผาสมุนไพรจะเหมาะที่สุด
4. การเลี้ยงตุ๊กแก วิธีนี้ไม่นิยมนัก เพราะหากกลัวจิ้งจกหรือรำคาญจิ้งจกก็อาจกลัวตุ๊กแกแทน แต่ตุ๊กแกจะช่วยไล่จิ้งจกได้
1. จิ้งจกเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบน้ำ อาจใช้การสเปรย์น้ำใส่ซึ่งจะช่วยไล่จิ้งจกได้ชั่วคราว
2. จิ้งจกไม่ชอบกลิ่นฉุน เช่น สเปรย์ปรับอากาศฉีดพ่นในห้อง ใช้เปลือกมะกรูดหรือเปลือกมะนาววางไว้ในห้องหรือมุมอับ ใช้ลูกเหม็นหรือการบูรวางไว้ในตู้เสื้อผ้าหรือในห้อง เป็นต้น วิธีการใช้กลิ่นสามารถประยุกต์ได้หลายแบบ ทั้ง การใช้สมุนไพร และกลิ่นของสารเคมี แต่แนะนำใช้กลิ่นจากสมุนไพรเหมาะสมที่สุด
3. จิ้งจกไม่ชอบควัน ควันจากสิ่งต่างๆมักมีกลิ่นเหม็น อาจใช้ควันจากการเผาสมุนไพรจะเหมาะที่สุด
4. การเลี้ยงตุ๊กแก วิธีนี้ไม่นิยมนัก เพราะหากกลัวจิ้งจกหรือรำคาญจิ้งจกก็อาจกลัวตุ๊กแกแทน แต่ตุ๊กแกจะช่วยไล่จิ้งจกได้
การป้องกันจิ้งจกอาศัยในบ้าน
1. มั่นทำความสะอาดตู้เสื้อผ้า และซอกมุมอับภายในบ้านให้สะอาดเป็นระยะ
2. มั่นจัดระเบียบข้าวของภายในบ้านให้เป็นระเบียบ
3. ทำการอุดรูตามผนังหรือซอกมุมภายในบ้าน เพื่อไม่ให้จิ้งจกเข้าหลบอาศัย
4. ปรับปรุงประตู หน้าต่างหรือทางเข้า-ออก ที่เปิด-ปิดได้ ไม่ให้มีช่องหรือรูที่จิ้งจกสามารถเข้ามาได้
5. ปรับเปลี่ยนหลอดไฟที่ไม่สว่างมากเกินความจำเป็น เพราะจะแสงไฟที่สว่างมากจะล่อแมลงให้เข้ามามาก
6. มั่นใช้เครื่องดักจับแมลง หากแมลงน้อยลงจะช่วยลดปริมาณจิ้งจกได้ทางอ้อมด้วย
7. เนื่องจากจิ้งจกมีผิวหนังบาง ไม่มีเกล็ด ทำให้ร่างกายต้องการความอบอุ่นในหน้าหนาว และต้องการหลบแสงแดด จึงทำให้จิ้งจกบ้านพยายามเข้ามาอาศัยภายในบ้าน ดังนั้น หากจิ้งจกมีที่หลบอาศัยภายนอกบ้านก็จะช่วยลดปัญหาจิ้งจกเข้าอาศัยในบ้านได้ เช่น การปลูกต้นไม้รอบๆบ้าน เป็นต้น
1. มั่นทำความสะอาดตู้เสื้อผ้า และซอกมุมอับภายในบ้านให้สะอาดเป็นระยะ
2. มั่นจัดระเบียบข้าวของภายในบ้านให้เป็นระเบียบ
3. ทำการอุดรูตามผนังหรือซอกมุมภายในบ้าน เพื่อไม่ให้จิ้งจกเข้าหลบอาศัย
4. ปรับปรุงประตู หน้าต่างหรือทางเข้า-ออก ที่เปิด-ปิดได้ ไม่ให้มีช่องหรือรูที่จิ้งจกสามารถเข้ามาได้
5. ปรับเปลี่ยนหลอดไฟที่ไม่สว่างมากเกินความจำเป็น เพราะจะแสงไฟที่สว่างมากจะล่อแมลงให้เข้ามามาก
6. มั่นใช้เครื่องดักจับแมลง หากแมลงน้อยลงจะช่วยลดปริมาณจิ้งจกได้ทางอ้อมด้วย
7. เนื่องจากจิ้งจกมีผิวหนังบาง ไม่มีเกล็ด ทำให้ร่างกายต้องการความอบอุ่นในหน้าหนาว และต้องการหลบแสงแดด จึงทำให้จิ้งจกบ้านพยายามเข้ามาอาศัยภายในบ้าน ดังนั้น หากจิ้งจกมีที่หลบอาศัยภายนอกบ้านก็จะช่วยลดปัญหาจิ้งจกเข้าอาศัยในบ้านได้ เช่น การปลูกต้นไม้รอบๆบ้าน เป็นต้น
ความเชื่อเกี่ยวกับจิ้งจก
1. จิ้งจกทักก่อนออกจากบ้าน คนโบราณกล่าวว่า อาจมีเรื่องราวหรือมีคราวเคราะห์ ไม่ควรออกจากบ้านหรือหากจำเป็นต้องให้ระมัดระวังอันตรายต่างๆให้ดี
2. จิ้งจกตกใส่ มักเชื่อว่า จะมีเคราะห์ร้ายมาเยือน หากเป็นจิ้งจกตายจะมีเคราะห์หนัก
3. ฝันถึงจิ้งจก หรือฝันว่าจิ้งจกทัก มักเชื่อว่า จะเกิดข่าวดีหรือโชคลาภมาให้แก่ตน ทั้งในหน้าที่การงานหรือลาภ ยศ เงินทอง เลขเสี่ยงโชค 17,77
1. จิ้งจกทักก่อนออกจากบ้าน คนโบราณกล่าวว่า อาจมีเรื่องราวหรือมีคราวเคราะห์ ไม่ควรออกจากบ้านหรือหากจำเป็นต้องให้ระมัดระวังอันตรายต่างๆให้ดี
2. จิ้งจกตกใส่ มักเชื่อว่า จะมีเคราะห์ร้ายมาเยือน หากเป็นจิ้งจกตายจะมีเคราะห์หนัก
3. ฝันถึงจิ้งจก หรือฝันว่าจิ้งจกทัก มักเชื่อว่า จะเกิดข่าวดีหรือโชคลาภมาให้แก่ตน ทั้งในหน้าที่การงานหรือลาภ ยศ เงินทอง เลขเสี่ยงโชค 17,77
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น