ตุ๊ดตู่
ตุ๊ดตู่ (Varanus dumerilii) เป็นสัตว์ในวงศ์ตะกวดเหมือนกับตัวเงินตัวทองที่พบได้เฉพาะในบางจังหวัดทางภาคใต้บริเวณป่าดิบชื้นริมทะเลหรือป่าโกงกาง แต่ค่อนข้างหาพบได้ยาก เนื่องจาก เป็นสัตว์ที่รักสงบ ไม่ชอบอยู่ร่วมกับมนุษย์ และมีการระวังภัยสูง ปัจจุบัน มีสถานะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
อนุกรมวิธาน
• Kingdom : Animalia
• Phylum : Chordata
• Class : Reptilia
• Order : Squamata
• Family : Varanidae
• Genus : Varanus (monitor lizards)
• Species : Varanus dumerillii
ตุ๊ดตู่มี 2 ชนิด คือ
1. Varanus dumerilii dumerilii
เป็นตุ๊ดตู่ที่พบแพร่กระจายบริเวณในประเทศไทย พม่า บรูไน มาเลเชีย และเกาะที่อยู่ใกล้เคียง มีลักษณะเกล็ดแหลมคม แต่แหลม และเด่นน้อยกว่าชนิดที่ 2
2. Varanus dumerilii heteropholis เป็นชนิดที่พบบนเกาะบอร์เนียว มีลักษณะแตกต่างกับชนิดแรก คือ มีเกล็ดที่แหลมคมกว่า
ตุ๊ดตู่ในประเทศไทย
ตุ๊ดตู่ที่ในประเทศไทยจะมีเพียงชนิดเดียว คือ Varanus dumerilii dumerilii หรือมีชื่อสามัญว่า Dumeril’s monitor
อนุกรมวิธาน
• Kingdom : Animalia
• Phylum : Chordata
• Class : Reptilia
• Order : Squamata
• Family : Varanidae
• Genus : Varanus (monitor lizards)
• Species : Varanus dumerillii
ตุ๊ดตู่มี 2 ชนิด คือ
1. Varanus dumerilii dumerilii
เป็นตุ๊ดตู่ที่พบแพร่กระจายบริเวณในประเทศไทย พม่า บรูไน มาเลเชีย และเกาะที่อยู่ใกล้เคียง มีลักษณะเกล็ดแหลมคม แต่แหลม และเด่นน้อยกว่าชนิดที่ 2
2. Varanus dumerilii heteropholis เป็นชนิดที่พบบนเกาะบอร์เนียว มีลักษณะแตกต่างกับชนิดแรก คือ มีเกล็ดที่แหลมคมกว่า
ตุ๊ดตู่ในประเทศไทย
ตุ๊ดตู่ที่ในประเทศไทยจะมีเพียงชนิดเดียว คือ Varanus dumerilii dumerilii หรือมีชื่อสามัญว่า Dumeril’s monitor
การแพร่กระจาย
ตุ๊ดตู่ Dumeril’s monitor ในประเทศไทยพบได้เฉพาะในภาคใต้ และภาคตะวันตก บริเวณจังหวัดชายทะเลที่ติดกับเทือกเขานครศรี และสันกาลาคีรี โดยเป็นสัตว์ที่ชอบอาศัยตามป่าดิบชื้น ป่าโกงกาง รวมไปถึงพื้นที่ที่เป็นเกาะต่างๆ ชอบอาศัยตามโพรงไม้หรือซอกหิน มีแหล่งหลบอาศัยในที่เดิมเป็นประจำ มีนิสัยชอบสงบเหมือนกับแลนดอน จึงไม่พบอาศัยร่วมกับมนุษย์เหมือนตัวเงินตัวทอง และตะกวด
ตุ๊ดตู่ Dumeril’s monitor ในประเทศไทยพบได้เฉพาะในภาคใต้ และภาคตะวันตก บริเวณจังหวัดชายทะเลที่ติดกับเทือกเขานครศรี และสันกาลาคีรี โดยเป็นสัตว์ที่ชอบอาศัยตามป่าดิบชื้น ป่าโกงกาง รวมไปถึงพื้นที่ที่เป็นเกาะต่างๆ ชอบอาศัยตามโพรงไม้หรือซอกหิน มีแหล่งหลบอาศัยในที่เดิมเป็นประจำ มีนิสัยชอบสงบเหมือนกับแลนดอน จึงไม่พบอาศัยร่วมกับมนุษย์เหมือนตัวเงินตัวทอง และตะกวด
ลักษณะทั่วไป
ตุ๊ดตู่ Dumeril’s monitor มีลำตัวมีลักษณะเด่น คือ เป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็กกว่าตะกวด และตัวเงินตัวทอง แต่ใหญ่กว่าแลนดอน เมื่อโตเต็มวัยจะมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 1-1.5 เมตร มีหางยาวประมาณ 40-50 เซนติเมตร ส่วนความยาวจากปากถึงทวารบริเวณโคนขาหลังมีความยาวเท่ากับความยาวของหาง รูปทรงจากตาจะรีเล็กลงมาที่จมูกหรือริมขอบปาก ตัววัยอ่อนจะมีหนังคอส่วนบน และหัวเป็นสีส้มอมเหลือง มีลายแถบสีขาวตัดขวางบริเวณลำตัว และส่วนหาง ส่วนขามีลายจุดสีขาวประห่างๆ เมื่อโตเต็มที่ ส่วนหัวจะเปลี่ยนสีเป็นสีเทา ใต้คอมีสีขาว ผิวหนังลำตัวมีสีเทาอมน้ำตาลเล็กน้อย บริเวณหลังส่วนคอจะมีเกร็ดแบนราบ และขนาดใหญ่ที่เรียงห่างกัน
ตุ๊ดตู่ Dumeril’s monitor มีลำตัวมีลักษณะเด่น คือ เป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็กกว่าตะกวด และตัวเงินตัวทอง แต่ใหญ่กว่าแลนดอน เมื่อโตเต็มวัยจะมีขนาดลำตัวยาวประมาณ 1-1.5 เมตร มีหางยาวประมาณ 40-50 เซนติเมตร ส่วนความยาวจากปากถึงทวารบริเวณโคนขาหลังมีความยาวเท่ากับความยาวของหาง รูปทรงจากตาจะรีเล็กลงมาที่จมูกหรือริมขอบปาก ตัววัยอ่อนจะมีหนังคอส่วนบน และหัวเป็นสีส้มอมเหลือง มีลายแถบสีขาวตัดขวางบริเวณลำตัว และส่วนหาง ส่วนขามีลายจุดสีขาวประห่างๆ เมื่อโตเต็มที่ ส่วนหัวจะเปลี่ยนสีเป็นสีเทา ใต้คอมีสีขาว ผิวหนังลำตัวมีสีเทาอมน้ำตาลเล็กน้อย บริเวณหลังส่วนคอจะมีเกร็ดแบนราบ และขนาดใหญ่ที่เรียงห่างกัน
อาหาร และการกินอาหาร
ตุ๊ดตู่ เป็นสัตว์ที่ว่ายน้ำได้ดี แต่มักวิ่งหรือเคลื่อนไหวได้ช้า มีอาหารสำคัญเป็นพวกสัตว์บกขนาดเล็ก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ปลา และแมลงต่างๆ ออกหาอาหารได้ทั้งกลางวันกลางคืน โดยเฉพาะเมื่อเวลาหิว ส่วนพื้นที่ออกหาอาหารจะไม่ค่อยไกลจากที่หลบอาศัย
ตุ๊ดตู่ เป็นสัตว์ที่ว่ายน้ำได้ดี แต่มักวิ่งหรือเคลื่อนไหวได้ช้า มีอาหารสำคัญเป็นพวกสัตว์บกขนาดเล็ก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ปลา และแมลงต่างๆ ออกหาอาหารได้ทั้งกลางวันกลางคืน โดยเฉพาะเมื่อเวลาหิว ส่วนพื้นที่ออกหาอาหารจะไม่ค่อยไกลจากที่หลบอาศัย
การวางไข่
ตุ๊ดตู่ Dumeril’s monitor เมื่อผสมพันธุ์แล้วจะวางไข่ครั้งลำประมาณ 20-30 ฟอง และในช่วง 1 ปี สามารถวางไข่ได้ 2-3 ครั้ง มีระยะการฟักตัวของไข่ประมาณ 200-230 วัน หรือมากกว่า ซึ่งขึ้นอยู่กับความชื้น และอุณหภูมิเป็นสำคัญ หากวางไข่ในช่วงต้นฤดูแล้งก็จะฟักออกมาเป็นตัวได้เร็วกว่าฤดูฝน
ตุ๊ดตู่ Dumeril’s monitor เมื่อผสมพันธุ์แล้วจะวางไข่ครั้งลำประมาณ 20-30 ฟอง และในช่วง 1 ปี สามารถวางไข่ได้ 2-3 ครั้ง มีระยะการฟักตัวของไข่ประมาณ 200-230 วัน หรือมากกว่า ซึ่งขึ้นอยู่กับความชื้น และอุณหภูมิเป็นสำคัญ หากวางไข่ในช่วงต้นฤดูแล้งก็จะฟักออกมาเป็นตัวได้เร็วกว่าฤดูฝน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น